อำนาจหน้าที่

Release Date : 15-03-2023 00:00:00
อำนาจหน้าที่

     ทัพเรือภาคที่ ๓ มีหน้าที่ ปฏิบัติการทางเรือเพื่อป้องกันราชอาณาจักร รักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาประเทศและช่วยเหลือประชาชนและ ดำเนินการเกี่ยวกับการฐานทัพ การป้องกันพื้นที่ การสารวัตรทหาร กิจการพลเรือน และ การควบคุมเรือพาณิชย์ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีการกำหนด พันธกิจ ดังนี้
     ๑. การพิทักษ์ และเทิดทูน สถาบันพระมหากษัตริย์
     ๒. การรักษาอธิปไตยของชาติทางทะเล และทางบกในความรับผิดชอบ
     ๓. การคุ้มครองรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
     ๔. การรักษาความมั่นคงทางทะเลตามแนวชายแดนในความรับผิดชอบ
     ๕.การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบสาธารณภัย
   ตามพันธกิจในการรักษาอธิปไตยของชาติทางทะเล การคุ้มครองรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลและ การรักษาความมั่นคงทางทะเลตามแนวชายแดนในความรับผิดชอบ นั้น ทัพเรือภาคที่ ๓ ได้พิจารณาการจัดกำลังให้มีความเหมาะสมเพื่อบรรลุภารกิจ ตามวัตถุประสงค์ที่ กองทัพเรือ ต้องการ

   

วัตถุประสงค์
    
๑ เพื่อรักษาอธิปไตยของชาติทางทะเล และทางบกในความรับผิดชอบ
     ๒. เพื่อการคุ้มครองรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
     ๓. เพื่อการรักษาความมั่นคงทางทะเลตามแนวชายแดนในความรับผิดชอบ
     ๔. เพื่อการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบสาธารณภัย

 

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
     ๑ การจัดเรือและอากาศยาน ออกลาดตระเวนประจำเดือนในพื้นที่รับผิดชอบของ ทัพเรือภาคที่ ๓ ปฏิบัติดังนี้
        ๑.๑ การประกอบกำลัง
              ๑.๑.๑ กำลังทางเรือ รวมทั้งสิ้น ๑๗ ลำ ประกอบด้วย เรือใน กองเรือปฏิบัติการ
ทัพเรือภาคที่ ๓ ที่ปฏิบัติราชการ ใน มวก.กปก.ทรภ.๓ จำนวน ๑๒ ลำ และ เรือปฏิบัติราชการใน นปอ. จำนวน ๕ ลำ
             ๑.๑.๒ กำลังทางอากาศ รวมทั้งสิ้น ๔ เครื่อง ประกอบด้วย อากาศยานจาก หมวดบินกองเรือปฏิบัติการ ทัพเรือภาคที่ ๓ จำนวน ๓ เครื่อง และ อากาศยานจาก ศูนย์รักษาความปลอดภัยทางทะเลกองทัพเรือฝั่งอันดามัน จำนวน ๑ เครื่อง
            ๑.๑.๓ หน่วยกำลังต่างๆ ที่ขึ้นการบังคับบัญชา/ควบคุมทางยุทธการ กับ
ทัพเรือภาคที่ ๓
      ๑.๒ การแบ่งพื้นที่ลาดตระเวนและการวางกำลัง และกิจในแต่ละพื้นที่ แบ่งเป็น ๓ พื้นที่ ดังนี้
           ๑.๒.๑ พื้นที่ลาดตระเวนตอนเหนือ เรียกว่า
พื้นที่ลาดตระเวน A มุ่งเน้นพื้นที่ที่คาดว่าเรือผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล การกระทำผิดกฎหมายทางทะเล จัดกำลังทางเรือ จำนวน ๓ ลำ ประกอบด้วย ๑
เรือตรวจการณ์ปืนเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง และ ๑ เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง
          ๑.๒.๒ พื้นที่ลาดตระเวนด้านกลาง เรียกว่า พื้นที่ลาดตระเวน B มุ่งเน้นพื้นที่ที่คาดว่าเรือผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล การกระทำผิดกฎหมายทางทะเล จัดกำลังทางเรือ จำนวน ๓ ลำ ประกอบด้วย ๑ เรือตรวจการณ์ปืน  ๑ เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง และ ๑ เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง
          ๑.๒.๓ พื้นที่ลาดตระเวนด้านใต้ เรียกว่า พื้นที่ลาดตระเวน C มุ่งเน้นพื้นที่ที่คาดว่าเรือผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย จะเดินทางเข้ามาในเขตน่านน้ำประเทศไทย ปราบปรามการลักลอบค้าน้ำมันเถื่อน การทำประมงผิดกฎหมาย และการลำเลียงสินค้าที่ไม่ผ่านพิธีการทางศุลกากร จัดกำลังทางเรือ จำนวน ๒ ลำ ประกอบด้วย ๑ เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง และ ๑ เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง
       ๑.๓ การกำหนดพื้นที่ลาดตระเวน บริเวณเขต EEZ มุ่งเน้นพื้นที่ในการรักษาอธิปไตย การกระทำผิดกฎหมายในทะเล และพื้นที่ที่คาดว่าเรือผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย จะเดินทางเข้ามาในเขตน่านน้ำประเทศไทย โดยแบ่งเป็น ๓ พื้นที่ ในแต่ละพื้นที่ จัดกำลังทางเรือ จำนวน ๑ ลำ ประกอบด้วย เรือฟริเกต /เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง /เรือตรวจการณ์ (ปราบเรือดำน้ำ) ทำการลาดตระเวน ร่วมกับการลาดตระเวนทางอากาศ โดยจอดเรือรับการส่งกำลังบำรุงที่ฐานทัพเรือพังงา ทัพเรือภาคที่ ๓ เป็นหลัก

 

พื้นที่บินลาดตระเวน